3
Link ไปบทความต่างๆในบล็อค
- สารบัญ
- บทความคณิตศาสตร์
- เอกสารเพิ่มเติม ม.1
- เอกสารพื้นฐาน ม.3
- บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียช่วยสอน เรื่อง เลขยกกำลัง
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อสมการ
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการให้เหตุผล
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.1
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.3
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ พื้นฐาน ม.1
- Vedio Clips เทคนิค
วันศุกร์ที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2553
วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
คณิตศาสตร์กับดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์
คำว่า "ดารา" คือเรื่องเกี่ยวกับดวงดาว ดาราศาสตร์ เป็นวิชาการที่ว่าด้วยเหตุอันเกิดจากดาว (Astrology ) ส่วนคำว่า "โหรา" เป็นคำสันสกฤต ตรงกับภาษาละตินว่า Hora ซึ่งมีความหมายถึง เวลา วิชาที่ว่าด้วยการคำนวณเวลา
ความเชื่อในเรื่องโหราศาสตร์ หรืออิทธิพลของดวงดาวที่มีต่อมนุษย์โลกมีมานานแล้ว มีมาในทุกชาติทุกภาษา เราจะเห็นได้ชัดว่าสมัยพุทธกาลก็มีการกล่าวถึง วันประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพาน ซึ่งเกี่ยวข้องกับดวงดาว หรือแม้แต่วันมาฆะบูชา ก็เป็นวันที่เกี่ยวข้องกับดวงดาวทั้งสิ้น
ในประเทศจีนมีการใช้ปฏิทินมานานกว่าสามพันปี มีการคำนวณแนวทางเดินของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ทำให้ทราบวันที่จะเกิดสุริยุปราคา หรือจันทรุปราคาได้ก่อน และถูกต้องแม่นยำ และที่สำคัญคือทุกประเทศ ทุกชาติ มีตำนานเกี่ยวกับจักรราศี และใช้จักรราศีเหมือนกัน
ด้วยการสังเกตและเฝ้าติดตามดวงดาว โดยเฉพาะดาวเคราะห์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ โดยผู้สังเกตอยู่บนโลกทำให้มีการพัฒนาศาสตร์ทางคณิตศาสตร์ให้ก้าวหน้าได้มาก สามารถคิดหลักการทางด้านตรีโกณมิติ โดยดูจากทรงกลมฟากฟ้า ใช้ในเรื่องการคำนวณหาค่าตัวเลขธรรมชาติหลาย ๆ ตัวเช่น พาย () ค่าซายน์ (sin) คอส (cos) แทน (tan) เป็นต้น
ตำแหน่งของดาวเคราะห์และดวงดาวทั้งหลายรวมทั้งดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ ปรากฏอยู่ในแผนที่ดาวที่นักโหราศาสตร์คิดคำนวณจากปฏิทินโหราศาสตร์ และนำมาใส่ไว้
เช่น สุริยคติกาล วันที่ 16 เมษายน 2531 วันเสาร์ ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 6 ปีมะโรง จ.ศ. 1350
หากเขียนแผนที่ดาวในรูปแบบดาวที่ใช้ในทางโหราศาสตร์จะได้รูปวงกลมที่แบ่งออกเป็นส่วนรอบ ๆ 12 ส่วน และมีสี่เหลี่ยมกลาง
ตำแหน่งดาวต่าง ๆ ปรากฏอยู่บนแผนภาพ โดยถือว่าโลกเป็นจุดศูนย์กลาง หรือที่เรียกว่า Geocentric Measuement
ตำแหน่งของดาวจะโคจรเสมือนโคจรรอบโลก ทั้งนี้เพราะจุดสังเกตคือเราอยู่บนพื้นโลก ซึ่งคิดว่าคงที่ โดยดูการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ ซึ่งเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มดาวจักรราศี
ในระบบสุริยะจักรวาล มีดาวเคราะห์ที่เห็นด้วยตาเปล่าชัดเจนห้าดวง ดังนั้นมนุษย์ตั้งแต่สมัยโบราณได้เฝ้าสังเกตการเปลี่ยนแปลงของดาวเคราะห์ ซึ่งจะเห็นว่าทุกขณะที่สังเกต จะเห็นดาวเคราะห์อยู่ในกลุ่มดาวจักรราศี และเคลื่อนที่เปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปตามแนวของจักรราศี ส่วนใหญ่เคลื่อนที่ไปข้างหน้าคือ จากราศีเมษ ก็ไป พฤษภ ไปราศี มิถุน... แต่บางขณะเวลาดาวเคราะห์ก็เคลื่อนที่ถอยหลัง การเคลื่อนที่ถอยหลังนี้เกิดจากจุดสังเกตบนโลกที่มองไป ขณะที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์บางขณะ ทำให้มุมมองของโลกที่มองไปมีลักษณะสัมพัทธ์ที่ทำให้ดาวเคราะห์เคลื่อนถอยหลัง
จากรูปภาพของระบบสุริยะจักรวาลที่แสดงทำให้เห็นว่าโลกมองเห็นดาวอังคารอยู่ในราศีมีน เห็นดาวศุกร์อยู่ในราศีพฤษภ เห็นดาวอาทิตย์อยู่ในราศีกรกฎ เห็นดาวพุธอยู่ในราศีสิงห์ เห็นดาวพฤหัสอยู่ในราศีกันย์ และดาวเสาร์อยู่ในราศีพิจิก และถ้าดูดวงจันทร์ด้วยก็ขึ้นอยู่กับวันข้างแรมขณะนั้น
การสังเกตในลักษณะที่โลกเป็นจุดศูนย์กลางจึงเป็นลักษณะที่คนโบราณเชื่อว่า รังสีของดาวเคราะห์ที่แผ่ตรงมายังโลกจะมีอิทธิพลต่อชีวิตความเป็นอยู่
ดังนั้นแผนภาพทางโหราศาสตร์ในเรื่องดาว จึงเป็นแผนภาพดาวเคราะห์บนฝากฟ้าที่สังเกตเห็นได้จากพื้นโลก ทำให้เราสามารถเห็นการโคจรของดาว บนแผนภาพนี้ และสามารถดูตำแหน่งของดาวเคราะห์บนฟากฟ้าจริงได้
การดูดาวเคราะห์จากแผนที่ดาว
ลักษณะของแผนที่ดาวก็คือทรงกลมท้องฟ้าที่แบ่งท้องฟ้าเป็น 12 ส่วน ตามจักรราศี การเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ต่าง ๆ ที่คำนวณได้จะเคลื่อนที่ในตำแหน่งบนท้องฟ้าโดยดูจาดจุดสังเกตบนโลก
ทิศทางการโคจรของดาวเคราะห์จะเดินหน้าไปตามทิศทวนเข็มนาฬิกา ดาวบางดวงจะโคจรได้เร็ว (เช่น ดวงจันทร์) บางดวงจะโคจรได้ช้า เช่นดาวพฤหัสจะเคลื่อนที่ได้ประมาณ 1 ราศีต่อปี สำหรับดวงอาทิตย์จะเคลื่อนที่ เดือนละ 1 ช่อง หรือในปีหนึ่งก็ครบหนึ่งรอบ ตำแหน่งของดวงอาทิตย์จะอยู่ในราศีตามเดือน
ตัวอย่างเช่น
วันศุกร์ที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542 ขึ้น 12 ค่ำ เดือน 4 ปีเถาะ
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ ดวงอาทิตย์ (1) ยังคงอยู่ราศีกุมภ์ ดวงจันทร์ขึ้น 12 ค่ำ หากพิจารณาดูว่า ถ้าขึ้น 15 ค่ำ หมายถึงอยู่ทำมุมกับดวงอาทิตย์ 180 องศา ดังนั้นขึ้น 12 ค่ำ จึงทำมุมประมาณ 144 องศา หนึ่งช่องประมาณ 30 องศา ดังนั้นพระจันทร์ (2) จึงอยู่แถวช่วงราศีกรกฎ
ในภาพแผนที่ดาวนี้จะเห็นดาวพุธ (4) อยู่คู่ดวงอาทิตย์ ในราศีกุมภ์ ส่วนดาวศุกร์ (6) และดาวพฤหัส (5) ทำมุมประมาณ 30 องศา ดังนั้นขณะพระอาทิตย์ตกดิน จะเห็นดาวพฤหัสและดาวศุกร์อยู่ใกล้กัน ในมุมประมาณ 30-40 องศา ส่วนดาวเสาร์ (7) อยู่ราศีเมษ หรือในตอนพระอาทิตย์ลับขอบฟ้าจะเห็นดาวเสาร์ทำมุมบนท้องฟ้าทางทิศตะวันตกประมาณ 60 องศา ดาวที่เห็นด้วยตาเปล่าอีกดวงคือดาวอังคาร (3) อยู่ราศีตุลจะขึ้นทางขอบฟ้าทิศตะวันออกตอนหลังจากพระอาทิตย์ตกดับแล้วประมาณ 4 ชั่วโมง หรือประมาณ 22:00 โดยประมาณ โดยประมาณ การคิดคำนวณวิถีการโคจรจริงจะทำให้ทราบเวลาที่แท้จริงได้ที่มา
http://www.school.net.th/library/snet2/index.html
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/nature/nature.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/math_ast_hora.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/geocentric.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/planet_map.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/math_time.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/time_nature.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/standard_calendar.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/leapyear.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/nature_calcul.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/image_3d.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/time_on_earth.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/time_per_earth.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/hour_angle.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/solar.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/convo/conv.htm
http://www.school.net.th/library/snet2/knowledge_math/ret_per/ret_per.htm
วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
การคิดเลขในใจ
4. การคิดเลขในใจจะช่วยให้นักเรียนเข้าใจเรื่องเหล่านี้ดีขึ้น คือ ค่าประจำหลัก การกระทำทางคณิตศาสตร์และสมบัติต่าง ๆ ของจำนวน ทั่งนี้เพราะหากนักเรียนสามารถหาคำตอบได้จากการคิดเลขในใจนั้นก็แสดงว่า นักเรียนต้องมีความเข้าใจในความคิดรวบยอดหลักการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับจำนวนเป็นอย่างดีแล้วเช่นกัน
ที่มา: http://203.172.204.162/intranet/1023_mc41/more/more.html
http://www.mathhousetutor.com/
วันพฤหัสบดีที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
เทคนิคการคูณเลขเร็ว
บทความเรื่อง เทคนิคการคูณเลขเร็ว
ในการคิดคำนวณจำนวนต่างๆ โดยการคูณเลขหลายหลักอาจจะต้องใช้เวลาในการหาผลลัพธ์นั้นค่อนข้างนาน แต่ตัวเลขที่เรานำไปคูณบางตัวนั้นก็มีเทคนิควิธีลัดในการคิดหาผลลัพธ์ ทำให้เราใช้เวลาคิดเพียงเล็กน้อย ได้ผลลัพธ์รวดเร็ว
- การคูณเลขด้วย 9, 99,999…
วิธีคิด 1. ให้นำ 1 บวกกับจำนวนที่ลงท้ายด้วย 9
2. จากนั้นนำไปคูณกับจำนวนที่คูณกับ 9 , 99 , 999… เช่น 45 x 99 ก็ต้องเอา 100 มาคูณ 45 เป็น 4,500 แล้วนำมาลบกับ 45 ก็จะได้คำตอบ
ตัวอย่าง การคูณด้วย 9, 99, 999...
1. 748 x 9 = 7,480 - 748 = 6,732
2. 543 x 99 = 54,300 - 543 = 53,757
3. 8,965 x 999 = 8,965,000 – 8,965 = 8,956,035 เป็นต้น
ยกตัวอย่างจากข้อสาม 8,965 x 999 ?
นำ 1 บวกกับ 999 ได้ 1,000
จากนั้นนำไปคูณ 8,965 x 1,000 = 8,965,000
แล้วลบด้วย 8,965 อีกครั้งหนึ่ง คือ 8,965,000 – 8,965 = 8,956,035
ผลลัพธ์ที่ได้ คือ 8,956,035
- กการคูณเลขด้วย 11
แบบที่ 1 คือ จำนวน 2 หลักที่คูณด้วยเลข 11
วิธีคิด 1. นำตัวเลขสองหลักนั้นมาเขียนใหม่โดยเว้นช่องตรงกลางเอาไว้
2. ช่องตรงกลางคือ ผลบวกของตัวมันเอง
ตัวอย่างที่ 1 52 x 11 = ?
วิธีทำ 1. 52 x 11 = 5_2 (นำตัวเลขสองหลักนั้นมาเขียนใหม่โดยเว้นช่องตรงกลางเอาไว้)
2. นำ 5+2=7 นำ 7 มาไว้ตรงกลาง) ก็จะได้คำตอบ 572
ตอบ 572
ตัวอย่างที่ 2 83 x 11 = ?
วิธีคิด 1. นำ 0 ไปเติมไว้ทั้งหน้าและหลัง จำนวน แล้วนำมาบวกกัน
เช่น 123 x 11 จะได้ 01230 แล้วนำมาบวกกัน ตามรูป
ตอบ 1,353
- การคูณเลขด้วย 25
วิธีคิด 1. นำจำนวนที่คูณด้วย 25 มาเติม 00 เช่น 48 x 25 ให้เอา 48 มาเติม 00 จะได้ 4,800
2. นำ 4 มาหาร 4,800 จะได้ 1,200 เป็นคำตอบ ดังนั้น 48 x 25 = 1,200
ตัวอย่างที่ 1 357 x 25 = ?
วิธีทำ 357x 25 = 35,700
= 35,700 แล้วนำมาหารหารด้วย 4
= 8,925
ตอบ 8,925
วิธีการเล่นซูโดะคุ (Sodoku)
SUDOKU
วิธีการเล่นSUDUKU
“แล้วถ้าจะเริ่มต้นเล่น ควรเริ่มจากตรงไหนดีละ”คำตอบก็คือ “ตรงไหนก็ได้”เป้าหมายหรือกฏของ ซูโดะคุ ก็คือ ในแต่ละแถว ทั้งแนวตั้ง แนวนอน และทุกกรอบจะต้องมีเลข 1 – 9 ครบทุกตัว โดยที่ห้ามซ้ำกันแม้แต่ตัวเดียว ซึ่งโจทย์จะมีตัวเลขมาให้จำนวนหนึ่งตามความยากง่ายของโจทย์ ดังนั้น เราจึงทำแค่เพียงคาดเดาว่าช่องไหน ควรใส่เลขอะไรบ้าง สำหรับผู้ที่เคยไขปริศนาเกมนี้มาบ้างแล้ว ก็อาจมีเทคนิคพิเศษเฉพาะตัวที่แตกต่างกันไป แต่สำหรับผู้เริ่มต้น เราขอแนะนำให้ลองให้ “เทคนิคการตัดออก”
ตัวอย่าง
ในกรอบที่ 1 จะเห็นว่า มีช่องว่างเหลืออยู่ 5 ช่อง โดยเราจะต้องใส่เลข 1-9 ลงในกรอบให้ครบ ดังนั้น ตัวเลขที่หายไปนั้นก็คือ 1,2,5,6,9 เริ่มจากการหาว่า เลข 1 จะไปอยู่ในช่องไหน โดยใช้หลักที่ว่า แต่ละแถว ทั้งแนวตั้งและแนวนอน จะใส่ตัวเลขใดๆ ได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นทีนี้เรามาไล่ดูแถวแนวตั้ง กับแนวนอนว่า ช่องไหนมีหมายเลข 1 อยู่บ้าง
จากรูป จะเห็นว่า แถวที่มีเลข 1 อยู่แล้วนั้น จะมีหมายเลข 1 ซ้ำอีกไม่ได้ ดังนั้น จะมีช่องว่างเพียงช่องเดียวสำหรับใส่หมายเลข 1 ในกรอบที่ 1 เราพบกรอบที่ใส่เลข 1 ในกรอบที่ 1 ไปแล้ว ทีนี้ ก็ใส่เลข 1 ลงในช่องอื่น ดูสิว่า จะมีที่ไหนพอจะใส่เลข 2 ได้บ้าง โดยใช้วิธีเดียวกัน
จากรูป เส้นแสดงให้เห็นว่ามีช่องเดียวเท่านั้น ที่จะใส่เลข 2 ได้ (ตามเทคนิค เราควรลากเส้นจากเลข 2 ในกรอบที่ 7 ด้วย แต่ในกรณีนี้ ไม่จำเป็น เพราะไม่มีช่องว่างในแนวตั้ง ในกรอบที่ 1 เพื่อให้ใส่เลขอยู่แล้ว) อาจประหยัดเวลา และความพยายามได้โดย เพียงแค่ตรวจดูในแต่ละแถวตามแนวนอน และแนวตั้ง ที่มีช่องว่าง อยู่ในแต่ละกรอบ
ตัวเลขที่หายไปตัวต่อไป ในกรอบ ที่ 1 คือ เลข 5 ลองหาช่องใส่โดยใช้วิธีการตัดออก คราวนี้จะยากขึ้นกว่าเดิม เพราะมีช่องว่าง 2 ช่อง ที่อาจใส่เลข 5 ได้ หมายความว่า เราจะใส่หมายเลข 5 ในตอนนี้ไม่ได้ เราอาจเดาไว้ก่อนว่า เลข 5 ควรจะอยู่ในช่องไหน แต่อย่าเพิ่งลงมือทำ เพราะถ้าเดาผิด ข้อผิดพลาดต่างๆจะตามมาเป็นชุดๆ ดังนั้นเราควรข้ามไปก่อน แล้วไปหาเลขอื่นต่อ
คราวนี้ตัวเลขที่ยังหายไปจากกรอบนี้อีก คือ 6 และ 9หลังจากที่เราใช้เทคนิคการตัดออก เพื่อหาช่องใส่เลข 6 และ 9 เราจะได้รูปดังต่อไปนี้
ดูให้ดี ตอนนี้เราใส่เลข 5 ได้อีกตัวด้วย เพราะว่าเลข 9 ได้ใช้ช่องหนึ่งในสองช่องที่อาจเป็นช่องสำหรับเลข 9 ไปแล้ว
นี่คือ การตัดออกที่แสดงให้เห็นว่า เลข 9 ช่วยให้เราใส่เลข 5 ได้อย่างไร นี่เป็นสิ่งที่มักเกิดขึ้น ในซูโดะคุ นั่นคือ ใส่เลขตัวหนึ่ง แล้วจะทำให้เรากลับไปใส่เลขอื่น ที่ไม่สามารถใส่ก่อนหน้านี้ได
คราวนี้ เหลือช่องว่างอีกเพียงแค่ช่องเดียว ในกรอบนี้ และเลขที่หายไปก็คือ เลข 6 เราจึงใส่ได้โดยไม่ต้องคิดอะไรมาก และแล้วกรอบนี้ก็จะเสร็จสมบูรณ์
นี่คือผลลัพธ์ที่ได้จากการใช้เทคนิคนี้ หลังจากนี้ก็ให้ใช้เทคนิคนี้กับกรอบที่เหลืออีก 8 กรอบ หลังจากนั้น โจทย์ซูโดะคุนี้ ก็จะถูกไขได้โดยสมบูรณ์
ที่มา//http://www.nanmeebooks.com/microsite/microsite.php?mcs_id=11&mnu_id=59&mnutype=Static
วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553
บทความคณิตศาสตร์ เรื่อง ลูกคิด
บทความคณิตศาสตร์ เรื่อง ลูกคิด
ลูกคิด (Abacus) เป็นเครื่องมือสำหรับใช้คำนวณ นับเป็นเครื่องคิดเลขยุคแรกๆ ของโลก ประกอบด้วยโครงสี่เหลี่ยม และมีแกนร้อยตัวลูกคิดกลมๆ สำหรับใช้นับเลข สามารถเลื่อนขึ้นลงได้ ลูกคิดแบบเชิงกลเช่นนี้มีด้วยกันหลายแบบ และหลายภูมิภาค เช่น บาบิโลน โรมัน จีน ญี่ปุ่น แต่ที่รู้จักกันดีคือลูกคิดแบบจีน ยังมีลูกคิดแบบที่ใช้ในจินตคณิต ซึ่งจะมีแถวบนเพียงลูกเดียวด้วย
การนับหลักของลูกคิดนั้น ว่าหลักใดเป็นหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน หรืออื่นๆ มีวิธีนับเช่นเดียวกับการนับหลักจำนวนเลขตามวิธีเลขคณิตศาสตร์โดยทั่วไป โดยเลือกกำหนดให้แกนรางหลักสุดท้ายหรือ หลักขวาสุดเป็นหลักหน่วย และไล่หลักทางซ้ายมือไปเรื่อยๆ เป็น สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน สิบล้าน ฯลฯ หรือหากมีความชำนาญแล้ว สามารถกำหนดแกนรางตำแหน่งใดๆ เป็นหลักหน่วยก็ได้
· <-- แกนถัดไปทางซ้าย 1 แกนเป็นหลักสิบ
· <-- แกนถัดไปทางซ้าย 2 แกนเป็นหลักร้อย
· <-- แกนถัดไปทางซ้าย 3 แกนเป็นหลักพัน หรือกำหนดเป็นทศนิยม
· --> แกนถัดไปทางขวา 1 แกนเป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 1
· --> แกนถัดไปทางขวา 2 แกนเป็นทศนิยมตำแหน่งที่ 2
คำที่ใช้ในการดีดลูกคิด
ให้ หมายความว่า เพิ่ม หรือ บวก
ทด หมายความว่า เพิ่มไปข้างหน้าทางซ้ายมือหนึ่งหลัก
ถอน หมายความว่า ลบออก หรือ หักออก
ยืมหมายความว่า ยืมจากทางซ้ายมือหนึ่งหลัก
วิธีใช้นิ้ว สำหรับลูกคิด
การใช้นิ้วในการดีดลูกคิดให้ถูกหลักและวิธี จะต้องใช้นิ้ว 3 นิ้วช่วยกัน คือ นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง ในขณะดีดลูกคิดไม่ควรให้ข้อศอกของมือที่ใช้ดีดลูกคิดแตะพื้นโต๊ะ การฝึกดีดลูกคิดให้ถูกหลักและวิธี จะทำให้คิดเลขได้คล่องแคล่ว เกิดความชำนาญและสามารถคิดเลขได้รวดเร็วไม่แพ้การใช้เครื่องคิดเลข
การใช้นิ้วทั้ง 3 ในการดีดลูกคิดจะแบ่งหน้าที่กัน ดังนี้
· นิ้วหัวแม่มือใช้สำหรับดีดลูกคิดตอนล่างขึ้น
· นิ้วชี้ ใช้สำหรับดีดลูกคิดตอนบนและตอนล่างลง และช่วยนิ้วหัวแม่มือจับลูกคิดตอนล่างขึ้น
· นิ้วกลางใช้สำหรับดีดลูกคิดตอนบนขึ้น
การหาค่าของลูกคิดในแต่ละเม็ด ซึ่ง เม็ดลูกคิด ตอนบน จะมีค่าเม็ดละ 5 หน่วย ตามหลักที่กำหนด คือ
การทำงานของนิ้วในการบวก กรณีที่นิ้วหัวแม่มือดันขึ้น นิ้วชี้ดันลงลง เช่น +8 สามารถทำไปพร้อมกันได้เลยทังนิ้วหัวแม่มือ และนิ้วชี้จะทำให้เร็วขึ้น
การทำงานของนิ้วในการลบ กรณีที่นิ้วหัวแม่มือดันลง นิ้วชี้ดันขึ้น เช่น -8 สามารถทำไปพร้อมกันได้เลยทั้งนิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จะ ทำให้เร็วขึ้น
การคูณด้วยลูกคิด
ขั้นที่2 นำ 6ไปคูณ 7ได้ 42 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ใส่ผลลัพธ์ทีหลักที่หนึ่งและ สอง ดัง รูป
ขั้นที่ 3 นำ 6 ไปคูณ 2 ได้ 12 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ใส่ผลลัพธ์ที่หลักสอง และสาม แล้วนำไปบวกกับขั้นที่ 2 โดยการนำ 1 (จาก12) บวกกับ 2 (จาก42) จะเห็นว่าลูกปัดมีพอบวกจึงได้ 3 ในหลักที่สองและใส่ 2 (จาก12) ในหลักที่สาม ได้ผลลัพธ์ ดังรูป
ขั้นที่ 4 นำ 6 ไปคูณ 1 ได้ 6 (น้อยกว่า10) ใส่ในหลักที่สี่ (หากผลคูณ ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป จะใส่ในหลักที่สาม และสี่) จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป
2.การคูณใช้ตัวคูณทีละตัวเริ่มจากหลักแรก (ตัวซ้าย) คูณตัวตั้งทุกตัวผลคูณที่ได้ในแต่ละครั้งจะนำไปบวกเพิ่มทุกครั้ง จนหมดการคูณ
3. วิธีการคูณให้นำตัวคูณหลักแรก (ตัวซ้าย) ไปคูณหลักแรก (ซ้ายสุด) ของตัวตั้ง
3.1 หากผลคูณตั้งแต่สิบข้นไปให้ใส่ที่หลักแรกและสองของผลลัพธ์
3.2 หากผลคูณน้อยกว่าสิบให้นำไปใส่ที่หลักที่สองของผลลัพธ์
4. นำตัวคูณหลักแรกไปคูณหลักที่สองของตัวตั้ง
4.1 หากผลคูณตั้งแต่สิบขึ้นไปให้ใส่ที่หลักที่สองและสามของผลลัพธ์
4.2 หากผลคูณน้อยกว่าสิบให้นำไปใส่ที่สามของผลลัพธ์ แล้วนำไปบวกกับผลลัพธ์ที่ได้ในข้อ 2
5. นำตัวคูณหลักแรกไปคูณหลักต่อๆไปจนครบทุกหลักของตัวตั้งโดยทำในกระบวนการเดียวกัน
6. นำตัวคูณหลักที่สองไปคูณหลักแรกของตัวตั้งแล้วนำไปบวกกับผลลัพธ์ในข้อ 5 ด้วยกระบวนการเดียวกันกับการคูณในหลักแรกผลลัพธ์ ของตัวคูณหลักที่สองจะเริ่มใส่ หลักที่สองของผลลัพธ์ ดูตัวอย่างประกอบ
7. นำตัวคูณหลักอื่นๆ ทุกหลักการกระทำเช่นเดียวกับข้อ 6 8. ผลลัพธ์ สุดท้ายจะเป็นผลคูณที่ต้องการ ตัวอย่างการคูณด้วยเลขสองหลัก หาผลคูณของ 654 x 29 ให้ใช้ลูกคิดตามไปด้วย
ขั้นที่ 2 นำ 2 ไปคูณ 6 ได้ 12 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป)ใส่ผลลัพธ์ที่หลักที่หนึ่ง และสอง ดังรูป
ขั้นที่ 3 นำ 2 ไปคูณ 5 ได้ 10 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป)ใส่ผลลัพธ์หลักที่สอง และสาม แล้วนำไปบวกกับขั้นที่ 2 โดยการนำ 1 (จาก 10) บวกกับ 2 (จาก 12) จะเห็นว่าลูกปัดมีพอบวกจึงได้ 3 ในหลักที่สอง และใส่ 0 (จาก 10) ในหลักที่สาม ได้ผลลัพธ์ ดังรูป
ขั้นที่ 4 นำ 2 ไปคูณ 4 ได้ 8 (น้อยกว่า 10) ใส่ผลลัพธ์ที่หลักที่สี่ ดังรูป
ขั้นที่ 5 จะเห็นว่าในขั้นที่ 4 ตัวคูณหลักแรกคูณตัวตั้งครบทุกหลักแล้ว ต่อไปจึงนำ ตัวคูณหลักที่สอง คูณตัวตั้งทุกหลัก นำ 9 คูณ 6 ได้ 45 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ใส่ผลลัพธ์ในหลักที่สอง และสาม รวมกับผลลัพธ์ในขั้นที่ 3 ได้ผลลัพธ์ ดังรูป
ขั้นที่ 6 นำ 9 คูณ 5 ได้ 45 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ใส่ผลลัพธ์ในหลักที่สาม และสี่นำไปบวกกับผลลัพธ์ในขั้นที่ 5 ได้ผลลัพธ์ ดังรูป
ขั้นที่ 7 นำ 9 คูณ 4 ได้ 36 (ตั้งแต่ 10 ขึ้นไป) ใส่ในหลักที่สี่และห้า บวกกับผลลัพธ์ในขั้นที่ 6 จะได้ผลลัพธ์ ดังรูป
จะเห็นว่าตัวคูณ คูณตัวตั้งจนครบทุกหลักและครบกระบวนการคูณแล้วได้ผลลัพธ์ 18,966
5. การกระทำต่อไปจะต่อเนื่องเป็นลักษณะเดียวกัน จนกว่าจะได้ผลลัพธ์
สูตร -5
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 5 อยู่แล้วให้ลบออกได้เลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็มสิบ ให้ลบ 10 ออก 1 จำนวน แล้วนำจำนวน 5 ลงมาใส่แทน
สูตร -4
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบออกได้เลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 5 อยู่แล้วให้ลบ 5 ออก แล้วนำจำนวน 1 ลงมาใส่แทน
สูตร -3
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้ลบออกได้เลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบ 3 ออกได้เลย แล้วจะเหลือเพียง 1 จำนวน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 5 อยู่แล้วให้ลบ 5 ออก แล้วนำจำนวน 2 ลงมาใส่แทน
สูตร -2
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้ลบออกได้เลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออกได้เลย แล้วจะเหลือเพียง 2 จำนวน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบ 2 ออกได้เลย แล้วจะเหลือเพียง 2 จำนวน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 5 อยู่แล้วให้ลบ 5 ออก แล้วนำจำนวน 3 ลงมาใส่แทน
สูตร -1
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 1 อยู่แล้วให้ลบออกได้เลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออกได้เลย แล้วจะเหลือเพียง 1 จำนวน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้ลบ 2 ออกได้เลย แล้วจะเหลือเพียง 1 จำนวน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออกได้เลย แล้วจะเหลือเพียง 1 จำนวน
- ในโอกาที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 5 อยู่แล้วให้ลบ 5 ออก แล้วนำจำนวน 4 ลงมาใส่แทน
สูตรการบวกโดยลูกคิด
สูตร +5
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 10 อยู่แล้วให้เติมจำนวนเต็ม 5 ลงไปเลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็มสิบและห้า ให้ลบ 5 ออก แล้วนำจำนวน 10 ลงมาใส่แทน
สูตร +4
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 10 อยู่แล้วให้เติมจำนวนเต็ม 4 ลงไปเลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็มสิบหรือห้า ให้เอาจำนวน 4 ลงมาใส่แทน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 1 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
สูตร +3
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 10 อยู่แล้วให้เติมจำนวนเต็ม 3 ลงไปเลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็มสิบหรือห้า ให้เอาจำนวน 3 ลงมาใส่แทน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบ 2 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้ลบ 2 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้ลบ 2 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 1 อยู่แล้วให้ลบ 1 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
สูตร +2
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 10 อยู่แล้วให้เติมจำนวนเต็ม 2 ลงไปเลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็มสิบหรือห้า ให้เอาจำนวน 2 ลงมาใส่แทน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบ 3 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้ลบ 3 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้เติมจำนวน 2 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 1 อยู่แล้วให้เติมจำนวน 2 ลงไป
สูตร +1
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 10 อยู่แล้วให้เติมจำนวนเต็ม 1 ลงไปเลย
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็มสิบหรือห้า ให้เอาจำนวน 1 ลงมาใส่แทน
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 4 อยู่แล้วให้ลบ 4 ออก แล้วเติมจำนวน 5 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 3 อยู่แล้วให้เติมจำนวน 1 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 2 อยู่แล้วให้เติมจำนวน 1 ลงไป
- ในโอกาสที่ในลูกคิดมีจำนวนเต็ม 1 อยู่แล้วให้เติมจำนวน 1 ลงไป
www.nujiw.com/math_soroban.aspx
วันนี้ในอดีต
14 พฤษภาคม: วันฉลองนักบุญมัทธีอัส (คริสตจักรโรมันคาทอลิก)
- พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) – เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เริ่มทดลองใช้ฝีดาษวัวเป็นวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) – สงครามเย็น: สหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์รวม 8 ประเทศ ริเริ่มและลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – สกายแล็บ สถานีอวกาศขององค์การนาซา ขึ้นสู่อวกาศจากแหลมแคนาเวอรัล
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – อิสราเอลประกาศตนเป็นรัฐเอกราชและตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถูกรัฐอาหรับรุกรานทันที นำไปสู่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) – ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้วินิจฉัยให้กลับมติของรัฐสภาที่ขับประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน (ในภาพ) ออกจากตำแหน่ง