3
Link ไปบทความต่างๆในบล็อค
- สารบัญ
- บทความคณิตศาสตร์
- เอกสารเพิ่มเติม ม.1
- เอกสารพื้นฐาน ม.3
- บทเรียนคอมพิวเตอร์มัลติมีเดียช่วยสอน เรื่อง เลขยกกำลัง
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง อสมการ
- บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เรื่อง การเตรียมความพร้อมในการให้เหตุผล
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์เพิ่มเติม ม.1
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.3
- แบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ พื้นฐาน ม.1
- Vedio Clips เทคนิค
วันอังคารที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2554
วันพุธที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2554
แบบฝึกทักษะ เรื่อง การประมาณค่า คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.1
วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2554
แบบฝึกทักษะ เรื่อง ทศนิยม และเศษส่วน คณิตศาสตร์พื้นฐาน ม.1
วันอังคารที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2554
วันจันทร์ที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันศุกร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2554
วันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2554
จำนวนเต็ม
จำนวนเต็ม
จำนวนเต็ม ประกอบไปด้วยจำนวนธรรมชาติ (1, 2, 3, …) จำนวนลบ (−1, −2, −3, ...) และจำนวนศูนย์ เซตของจำนวนเต็มมักเขียนอยู่ในรูป Z (หรือZ ในรูปตัวใหญ่บนกระดานดำ ), ซึ่งมาจากคำว่า Zahlen (ภาษาเยอรมัน). สาขาของคณิตศาสตร์ที่ศึกษาเกี่ยวกับระบบจำนวนเต็มนี้คือ ทฤษฎีจำนวน
สมบัติทางพีชคณิต
Z เป็นเซตปิดสำหรับการบวกและการคูณ นั่นคือ ผลบวกและผลคูณระหว่างจำนวนเต็มสองจำนวน เป็นจำนวนเต็ม อย่างไรก็ตาม ด้วยสมบัติของจำนวนลบ Z ยังเป็นเซตปิดสำหรับการลบอีกด้วย แต่ Z ไม่เป็นเซตปิดสำหรับการหาร เนื่องจากผลหารของจำนวนเต็มสองจำนวน (เช่น 1 หารด้วย 2) ไม่จำเป็นต้องเป็นจำนวนเต็ม
ตารางด้านล่างแสดงสมบัติพื้นฐานของการบวกและการคูณของจำนวนเต็ม a,b และ c ใดๆ
การบวก | การคูณ | |
สมบัติการปิด: | a + b เป็นจำนวนเต็ม | a × b เป็นจำนวนเต็ม |
สมบัติการเปลี่ยนหมู่: | a + (b + c) = (a + b) + c | a × (b × c) = (a × b) × c |
สมบัติการสลับที่: | a + b = b + a | a × b = b × a |
การมีสมาชิกเอกลักษณ์: | a + 0 = a | a × 1 = a |
การมีตัวผกผัน: | a + (−a) = 0 | |
สมบัติการแจกแจง: | a × (b + c) = (a × b) + (a × c) |
ตามศัพท์ของพีชคณิตนามธรรม คุณสมบัติห้าข้อแรกข้างบนสามารถบอกได้ว่าเซต Z กับการบวกเป็น อบิเลียนกรุป
หมายเหตุ: จำนวนเต็มไม่นิยามการหารในทุกกรณี
สมบัติการเรียงลำดับ
Z เป็น เซตเรียงลำดับที่ไม่มีขอบเขตบนหรือขอบเขตล่าง. การเรียงลำดับของ Z อยู่ในรูป
... < −2 < −1 < 0 < 1 < 2 < ...
จำนวนเต็มหนึ่งๆ จะเป็นจำนวนบวก ถ้ามันมากกว่าศูนย์ และเป็นจำนวนลบ ถ้ามันน้อยกว่าศูนย์ สำหรับศูนย์ ไม่ได้จัดอยู่ในจำนวนบวกหรือจำนวนลบแต่อย่างใด
การเรียงลำดับจำนวนเต็มโดยใช้การดำเนินการทางพีชคณิต ดังนี้
- ถ้า a < b และ c < d แล้ว a + c < b + d
- ถ้า a < b และ 0 < c แล้ว ac < bc
- ถ้า a < b และ c < 0 แล้ว ac > bc.
จำนวนเต็มในการคำนวณ
จำนวนเต็มมักเป็นชนิดข้อมูลพื้นฐานในภาษาโปรแกรม แต่จำนวนเต็มในภาษาโปรแกรมมีความจุจำกัด และมักมีจำนวนบิตที่ตายตัว ทำให้สามารถเก็บค่าได้แค่บางส่วนจากจำนวนเต็มทั้งหมดทางคณิตศาสตร์ แต่ในอีกด้านหนึ่ง แบบจำลองทางทฤษฎีทางคำนวณ เช่น เครื่องจักรทัวริง สมมุติให้เครื่องคำนวณมีความจุไม่มีที่สิ้นสุด
สืบค้นจาก วิกิพีเเดีย
วันเสาร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
เอกสารประกอบการเรียน และแบบฝึกทักษะเรื่อง ตัวหารร่วมมาก และตัวคูณร่วมน้อย
วันอาทิตย์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2554
o! มีค่าเท่าไหร่ มาดูคำตอบจากความน่าจะเป็น
Written by Sritanonchai
โดยปกติ คำนิยามของแฟคทอเรียลคือ n! = n x (n-1) x (n-2) x (n-3)x…x 2 x 1
เพราะฉะนั้นจากนิยาม 5! = 5 x 4 x 3 x 2 x 1 = 120
คำถาม: 10! มีค่าเท่ากับเท่าไหร่
แล้ว 0! มีค่าหรือไม่ ถ้ามีมีค่าเท่าไหร่
จากนิยามเมื่อพิจารณาดูแล้ว แฟคทอเรียล นั้นน่าจะใช้นิยามสำหรับจำนวนเต็ม ที่มีค่ามากกว่า ศูนย์ เพราะผลคูณทางด้านขวามือในนิยามนั้น เป็นผลคูณของ จำนวนเต็มที่มีค่ามากกว่าศูนย์ แต่ในคณิตศาสตร์บางครั้ง เราจะพบ 0! ซึ่งในบท ความนี้ เราจะนำเสนอว่าทำไมเราถึงต้องนิยาม 0! และ ค่าของ 0! มีค่าเท่าไหร่ โดยชี้ให้เห็นจากเรื่องความน่าจะเป็น
ความน่าจะเป็น
ถ้าในห้องๆหนึ่งมีนักเรียนจำนวน 4 คน คือ A B C และ D เราจะสามารถเรียงคนสามคนจากสี่คนนี้เป็นแถวหน้ากระดานได้กี่แบบ
วิธีที่ 1 การเขียนเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นออกมา
วิธีที่ทำความเข้าใจได้ดีที่สุดก็คือ การเขียนเหตุการณ์ที่น่าจะเป็นทั้งหมดออกมา
ABC ABD ACB ACD ADB ADC
BAC BAD BCA BCD BDA BDC
CAB CAD CBA CBD CDA CDB
DAB DBC DBA DBC DCA DCB
จะสังเกตได้ว่ามีจำนวนเหตุการณ์ทั้งหมด 24
เพราะฉะนั้น การเรียงนักเรียน 3 คน จาก 4 คน มีความเป็นไปได้ 24 แบบ
วิธีที่ 2 Multi Stages
วิธีนี้ความจริงก็คือ การใช้วิธีคิดจากวิธีที่ 1 แบบมีระบบ จากโจทย์ เรา ต้องการเรียงนักเรียนสามคน จากสี่คนเป็นแถวหน้ากระดาน หรือ เรามี สาม ตำแหน่ง แล้วเราต้อง จับคนมาวางไว้ในแต่ละตำแหน่ง จะเห็นได้ว่า
ในตำแหน่งแรกนั้น เรามีตัวเลือกให้เลือกมาวางในตำแหน่งนี้ 4 ตัวเลือก (ใครก็ได้สามารถมาอยู่ในตำแหน่งนี้)
ในตำแหน่งที่สอง นั้น เมื่อหนึ่งคนถูกจัดให้มาอยู่ในตำแหน่งแรก เราจึงเหลือ 3 ตัวเลือกให้เลือกมาลงในตำแหน่งที่สอง
ในตำแหน่งที่สาม เราจึงมี 2 ตัวเลือก
เพราะฉะนั้น ความเป็นไปได้ทั้งหมดคือ 4 x 3 x 2 = 24 แบบ
คราวนี้ผมต้องการที่จะสรุปสูตรออกมา เพื่อให้สอดคล้องกับตัวเลขของโจทย์ซึ่ง ก็คือ นักเรียน 4 คน, มีตำแหน่งอยู่ 3 ตำแหน่ง แล้วให้ได้ผลลัพธ์ 24
สูตรที่ได้ก็คือ 4! / (4-3)! = 24
เพราะฉะนั้นถ้าเรามีนักเรียนจำนวน n คน แล้วเราจะเรียง r คน เป็นแถวหน้ากระดาน เราจะมีวิธีทั้งหมด n!/(n-r)!
ขั้นตอนสุดท้าย ถ้าผมถามว่า ถ้ามี นักเรียน 4 คน และต้องการเรียง 4 คนเป็นแถวหน้ากระดาน จะมีทั้งหมดกี่วิธี
จากวิธีที่สอง ตำแหน่งแรก จะมีตัวเลือก 4 ตัวเลือก
ตำแหน่งที่สอง จะมีตัวเลือก 3 ตัวเลือก
ตำแหน่งที่สาม จะมีตัวเลือก 2 ตัวเลือก
ตำแหน่งสุดท้าย จะมีตัวเลือก 1 ตัวเลือก
เพราะฉะนั้นการเรียง 4 คน จาก คนทั้งหมด 4 คน มีความเป็นไปได้ทั้งหมด 4 x 3 x 2 x 1 = 4! ***
แต่จากสูตรที่เรามี เราเรียงคน 4 คน ( นี่คือ ค่า r ) จากคนทั้งหมด 4 คน ( นี่คือ ค่า n ) คือ 4! / (4-4)! = 4! จาก ***
เพราะฉะนั้น 4! / 0! = 4! เพราะฉะนั้น 0! = 1
ที่มา http://sdiff99.hi5.com
วันนี้ในอดีต
14 พฤษภาคม: วันฉลองนักบุญมัทธีอัส (คริสตจักรโรมันคาทอลิก)
- พ.ศ. 2339 (ค.ศ. 1796) – เอ็ดเวิร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ เริ่มทดลองใช้ฝีดาษวัวเป็นวัคซีนป้องกันโรคไข้ทรพิษ
- พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) – สงครามเย็น: สหภาพโซเวียตและประเทศคอมมิวนิสต์รวม 8 ประเทศ ริเริ่มและลงนามในสนธิสัญญาวอร์ซอ ในกรุงวอร์ซอ ประเทศโปแลนด์
- พ.ศ. 2516 (ค.ศ. 1973) – สกายแล็บ สถานีอวกาศขององค์การนาซา ขึ้นสู่อวกาศจากแหลมแคนาเวอรัล
- พ.ศ. 2491 (ค.ศ. 1948) – อิสราเอลประกาศตนเป็นรัฐเอกราชและตั้งรัฐบาลเฉพาะกาล แต่ถูกรัฐอาหรับรุกรานทันที นำไปสู่สงครามอาหรับ–อิสราเอล ค.ศ. 1948
- พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) – ศาลรัฐธรรมนูญเกาหลีใต้วินิจฉัยให้กลับมติของรัฐสภาที่ขับประธานาธิบดีโน มู-ฮย็อน (ในภาพ) ออกจากตำแหน่ง